รีวิว GUNDAM ซีรี่ส์ RX-78 จาก Bandai รุ่น RX-78-1 ถึง RX-78-3 สายสะสมไม่ควรพลาด
GUNDUM เกิดขึ้นมาครั้งแรกจากผลงานนวนิยายการประพันธ์ของคุณ Yoshiyuki Tomino ในเรื่อง MOBILE SUIT GUNDAM โดยชื่อเดิมนั้นมากจาก “Freedom Fighter Gunboy” หรือ “Gunboy” และได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อเป็น “Gundom” โดยเป็นการใช้คำว่า Gunboy รวมกับคำว่า Freedom นั่นเอง ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสุดท้ายเป็นชื่อ “Gundum” (ガンダム) และถูกใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ ส่วนความหมายของ “Gundam” ก็แปลตามตัวซึ่งหมายถึง “ปืนบนเขื่อน” นั่นเอง เพราะคำว่า “Dam” แปลว่าเขื่อน
โดยผู้ที่ได้รับหน้าที่ในการออกแบบในช่วงเริ่มแรกนั่นก็คือคุณ Kunio Okawara โดยได้ออกแบบและดีไซน์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งต่อมาก็ได้นำแนวคิดการออกแบบตัวหุ่นมาจาก “สรีระของผู้หญิง” และชุดซามูไร ซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนดีไซน์เรื่อยมา จนออกมาเป็นกันดั้มแบบที่เห็น ในหลายๆ รูปทรงนั่นเอง ส่วนรายละเอียดแต่ละรุ่น แต่ละรูปทรงจะเป็นอย่างไรนั้น ในวันนี้ Figmodel จะพาเพื่อนๆ ไปชมกัน
แนวคิดของการออกแบบกันดั้มนั้นเป็นแบบ เรียลโรบ๊อต (Real Robot) หุ่นยนต์รบขนาดใหญ่ที่เคลื่อนไหวคล้ายมนุษย์ โดยมีตรีมเรื่องสงครามอวกาศ ซึ่งได้แรงบันดาลใจมากจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สำหรับกันดั้มในภาค UC นั้นเริ่มขึ้นในแผนยุทธการ Project V ที่เป็นแผนพัฒนาปโมบิลสูทของทางฝ่ายสหพันธ์โลกเพื่อตอบโต้ฝ่ายจักรวรรดิซีอ้อน ซึ่งได้เริ่ม “โปรเจคท์ V ขึ้น โดยคำว่า V นั้นย่อมาจาก Victory นั่นเอง ผู้เริ่มโครตการคือ จอมพลเรวิล และดูแลโดย ทิมเรย์ (Tim Ray)
RX-78-1 Prototype Gundam
เป็นกันดั้มตัวแรกตามท้องเรื่อง ในแผนการ Project V ของฝ่ายสหพันธ์โลกที่เริ่มพัฒนาโมบิลสูทในการสู้รบเป็นครั้งแรกในสงครามหนึ่งปี เครื่องหมายเลขหนึ่งถูกผลิตขึ้นที่ฐานจาโบร ตัวเครื่องใช้สีดำ-เงิน เป็นหลัก ตัวเกาะชั้นนอกประกอบขึ้นจากแร่โลหะผสม “ลูน่า ไททาเนียม” (Luna Titanium) ที่มีความแข็งแรงและทนทานกว่าโลหะที่ผลิตขึ้นบนโลกนั่นเอง
สเปคของโมบิลสูทเครื่องแรกนั้น ส่วนหัวจะใช้กล้องจับภาพแบบทวินอาย (Twin Eye) มีเซ็นเซอร์การมองเห็นไกลสุดอยู่ที่ 5700 เมตร รวมถึงยังติดตั้งปืนกลขนาดลำกล้อง 60 มม. เอาไว้อีกด้วย ตัวเครื่องติดตั้งระบบกำเนิดพลังงานแบบเตาปฏิกรณ์ไมนอสกี้ ตัวบอดี้สามารถแยกออกเป็นส่วนๆ เพื่อติดตั้งระบบดีดตัวฉุกเฉิน และมีอุปกรณ์ต่อสู้แบบมาตรฐานไม่ว่าจะเป็น บีมไรเฟิล , บีมเซเบอร์ , ไฮเปอร์บาซูก้าขนาด 380 มม. ,และโล่ รวมถึงบีมจาเวลินสองข้างอีกด้วย กันดั้มเรื่องนี้ปรากฏในภาค MSV-R และเกม Mobile Suit Gundam : Spirits of Zeon – Dual Stars of Carnage มีนักบินประจำเครื่องคือ ฟาร์เรล อิฮา (Farrell Iha)
RX-78-2 Gundam
ถือได้ว่าเป็นกันดั้มตัวที่สองที่แฟนๆ กันดั้มรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะกันดั้มเครื่องนี้มีบทบาทอย่างมากในการช่วยสงคราม ในแผนการ Project V ของฝ่ายสหพันธ์โลกที่เริ่มพัฒนาโมบิลสูทในการสู้รบเป็นครั้งแรก เป็นโมบิลสูทเครื่องแรกที่ถูกควยคุมโดยสุดยอดนักบินฝ่ายสหพันธ์โลกอย่าง “อามุโร่ เรย์” ที่ใช้จบสงครามได้สำเร็จ และเครื่องหมายสองถูกสร้างขึ้นที่โคโลนี่ ไซด์ 7 ซึ่งในระหว่าการทดสอบนั้นได้ถูกฝ่ายจักรวรรดิซีออนบุกเข้ามาโจมตี ในช่วงเปิดเรื่องของตอนแรก
ส่วนสเปคของเครื่องนั้นคล้ายกับเครื่องแรก แต่ความพิเศษของรุ่นนี้คือมีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาควบคุมที่สามารถเรียนรู้ได้เองอีกด้วย โดยจะใช้บันทึกข้อมูลการบินของนักบินในระหว่างการต่อสู้ RX-78-2 ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ที่แฟนๆ กันดั้มนั้นจดจำได้เป็นอย่างดี ถือเป็น กันดั้มตัวแรก ที่มีบทบาทอย่างมากในวงการอนิเมะญี่ปุ่นเลยทีเดียว
RX-78-3 Gundam
เป็นกันดั้มเครื่องที่สามในชื่อ “G-3” ตัวเครื่องเป็นสีเงินทั้งตัว ซึ่งแต่เดิมนั้นเครื่องหมายเลขถูกสร้างขึ้นมา โดยนำเอาอะไหล่จากชิ้นส่วนของเครื่อง RX-78-2 บางส่วนที่ถูกทำลายไปใช้ในช่วงที่ฝ่ายจักรวรรดิซีอ้อนบุกเข้ามาโจมตีในโคโลนี่ไซด์ 7 ในช่วงเปิดเรื่องของตอนแรก กลับมายังโลกแล้วผลิตขึ้นที่ฐานจาโบร อีกทั้งรุ่นนี้ยังถือเป็นเครื่องนำร่องในการติดตั้งระบบ Magneticc Coating ซึ่งคุณสมบัตินั้นไม่ต่างจากสองรุ่นแรก และยังมีนักบินประจำเครื่องคือ “อามุโร่ เรย์” และ “จิออร์จิโร่ มิเกล”